วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8 กล้องดิจิตอลกับเมมเมอร์รี่


กล้องดิจิตอลมีมากมายหลายประเภทแต่ถ้ายกเฉพาะที่ใช้กันแพร่หลายก็มีอยู่ 4 ประเภท

1.กล้องคอมแพค (Compact)
2.กล้อง DSLR
3.กล้อง DSLR-Like
4.กล้อง Mirrorless เช่น Micro 4/3

1.กล้องคอมแพค

กล้องประเภทนี้ หมายความรวมๆว่า "พกพาสะดวก" ฉะนั้น กล้องเล็กๆบางๆ หยิบพกสะดวก ก็เรียกว่าเป็นคอมแพคได้ทั้งนั้นส่วนใหญ่ถ่ายภาพออกมาชัดเจนพอจะล้างรูปขนาดจัมโบ้ได้ (4x6 นิ้ว) ... แต่ถ้ามากกว่านั้นความละเอียดก็จะลดลงตามลำดับราคาหลากหลาย มีตั้งแต่ถูกๆ ไม่แพงมาก และแพง

2.กล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex)

ถ้าแปลความหมาย จะแปลว่ากล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยวแบบดิจิตอล
จำง่ายๆว่า "กล้องตัวดำๆใหญ่ๆ เปลี่ยนเลนส์ได้ ก็พอ(กล้องที่ไม่ดำ ไม่ใหญ่ เปลี่ยนเลนส์ได้ แต่ไม่ใช่ DSLR ก็มี ส่วนใหญ่ถ่ายภาพได้คมชัดกว่าคอมแพคและมีลูกเล่น ปรับโน่นปรับนี่ได้ ส่วนใหญ่พวกมืออาชีพ หรือคนที่ต้องการภาพที่สวยๆ จะใช้กล้องประเภทนี้ ราคาเมื่อเทียบกับคอมแพคก็มักจะแพงกว่า ถูกสุดก็ 1.5 หมื่นขึ้นไป

3.กล้อง DSLR-Like

กล้องนี้เป็นกล้อง "เหมือน DSLR" แต่ไม่ใช่ DSLR
คุณภาพกล้องสูสีกว่าคอมแพค บ้างก็ดีกว่า แต่ยังไม่เท่า DSLR ... เพียงแต่ปรับแต่งได้เยอะใกล้เคียง DSLR แต่ถอดเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้มีลักษณะดำๆใหญ่ๆเหมือนกับ DSLR ราคาใกล้เคียงคอมแพครุ่นกลางๆ-รุ่นแพงๆ เหมาะกับคนที่ต้องการภาพที่ดีในระดับโอเคกว่าคอมแพค และไม่ต้องการพกอุปกรณ์เยอะแยะไปกว่ากล้องตัวใหญ่ๆตัวหนึ่ง

4.กล้อง Mirrorless เช่น Micro 4/3 หรือ Sony E-mount
ไม่แน่ใจว่ากล้องประเภทนี้จะก้าวเข้าสู่ตลาดกล้องได้ดีแค่ไหน แต่ ณ ปัจจุบันนี้ก็เปิดตัวได้แรงพอดูเป็นกล้องแบบเดียวกับ DSLR ต่างกันตรงไม่มีเลนส์สะท้อนเท่านั้นเอง ทำให้มีขนาดที่เล็กกว่า DSLR มาก ได้เปรียบเรื่องการพกพาที่ใกล้เคียงคอมแพคคุณภาพไฟล์รูปเท่ากับ DSLR (DSLR รุ่นล่างๆ-รุ่นกลางๆ) ... แต่ส่วนใหญ่จะบ่นๆกันเรื่องที่มันจับถือและปรับแต่งไม่ถนัดแบบ DSLR




ประเภทของเมมโมรี่กล้องถ่ายรูปดิจิตอล Memory Digital Camera



แผ่นบันทึกข้อมูล

เมื่อแสงตกลงบน Image Sensor จะเกิดสัญญาณไฟฟ้าขึ้นมา สัญญาณไฟฟ้าจะถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูลดิจิตอลโดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Analog to Digital Converter จากนั้นข้อมูลดิจิตอลจะถูกปรับแต่งโดย Processorมีการปรับแต่งสีผิว ความเปรียบต่าง ความคมชัด ความอิ่มตัวของสีฯลฯ จากนั้นข้อมูลดิจิตอลจะถูกเก็บลงบนที่เก็บข้อมูล
กล้องดิจิตอลในยุคแรกๆ ไม่มีแผ่นเก็บข้อมูล การเก็บข้อมูลใช้เมมโมรี่ภายในตัวกล้อง ทำให้เกิดข้อจำกัดเรื่องจำนวนภาพที่ถ่ายได้หากพื้นที่เก็บข้อมูลในตัวกล้องเต็ม จะต้องถ่ายข้อมูลจากตัวกล้องเข้าที่เก็บ เช่น เชื่อมต่อกล้องเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยใช้สาย Paralel Port จากนั้นโอนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์แล้วล้างข้อมูลในตัวกล้องออก ถึงจะนำกล้องดิจิตอลมาถ่ายภาพต่อได้
เมื่อกล้องดิจิตอลมีความละเอียดมากขึ้น จาก 300,000 pixels สู่ 3,000,000 pixels ข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้นและต้องใช้พื้นทีการเก็บภาพมากขึ้น มีการใช้กล้องดิจิตอลแทนกล้องฟิล์มดันอย่างแพร่หลาย จึงต้องออกแบบกล้องให้สามารถถ่ายภาพได้ไม่จำกัดจำนวน วิธีแก้ไขคือ การใช้แผ่นบันทึกข้อมูลแทนการบันทึกข้อมูลในตัวกล้อง เมื่อแผ่นบันทึกข้อมูลเต็มก็สามารถเปลี่ยนแผ่นบันทึกข้อมูลแผ่นใหม่เข้าไปต่อได้ทำให้สามารถถ่ายภาพได้จำนวนมากเหมือนการเปลี่ยนฟิล์มม้วนใหม่แผ่นบันทึกข้อมูลนี้ยังสามารถโอนข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ลบภาพ และนำแผ่นกลับมาใช้ใหม่ได้นับจำนวนครั้งไม่ถ้วน ทำให้เกิดความสะดวกและประหยัดมากกว่า
นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถนำแผ่นบันทึกข้อมูลไปใช้กับคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือผ่านตัวอ่านเพื่อโอนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องนำตัวกล้องไปเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์สามารถส่งแผ่นบันทึกข้อมูลไปอัดขยายภาพได้โดยตรง และแผ่นบันทึกข้อมูลยังสามารถใช้ร่วมกับกล้องตัวอื่นๆ ได้อีกด้วยทั้งสะดวกและประหยัดแผ่นบันทึกข้อมูลเปรียบเสมือนฟิล์มถ่ายภาพ คือ ทำหน้าที่เก็บภาพถ่าย แต่ฟิล์มมีหน้าที่เป็น Image Sensorด้วย แผ่นบันทึกข้อมูลสำหรับกล้องดิจิตอลจะมีให้ใช้งานหลากหลายมากๆ แต่ละแบบจะมีความสามารถในการบรรจุข้อมูล ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลแตกต่างกันส่งผลให้ความรวดเร็วในการถ่ายภาพ จำนวนภาพถ่ายต่อเนื่องของกล้องแต่ละรุ่นแตกต่างกันออกไปด้วย ยิ่งบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลได้เร็วเท่าไร กล้องจะทำงานได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะซื้อกล้องจะต้องเลือกกล้องที่ใช้แผ่นบันทึกข้อมูลให้เหมาะสมกับการใช้งานของตนเอง โดยเฉพาะการเผื่อใช้งานกับอุปกรณ์ต่อเนื่องอื่นๆ และเผื่อใช้งานในอนาคตอีกด้วย

แผ่นบันทึกข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ ได้คือ

1. แผ่นบันทึกข้อมูลแบบ Flash Memory ใช้หน่วยเก็บความจำคล้าย RAM ในเครื่อง PC แต่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ และความจำไม่หายแม้ปิดเครื่อง
2. แผ่นบันทึกข้อมูลแบบ Rotating Diskใช้แผ่นเก็บข้อมูลที่เป็นแม่เหล็กคล้ายแผ่น Disk หรือ Hard Disk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น